1.รูปหลวงหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม 4 ชาย

                                              1.รูปหลวงหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม 4 ชาย


1.    “ศีรษะ” ลักษณะคล้ายกับ “บาตรคว่ำ” อย่างพิมพ์อื่น ๆ เช่นกัน “ใบหู” หนาใหญ่เห็นชัดทั้งสองข้าง “ตา” ด้านขวาเป็นเม็ดกลมใหญ่ขณะที่ “ใต้หัวตาซ้าย” มีเนื้อเกินเป็นตุ่มคล้ายขี้ตาจึงเป็นที่มาของชื่อ “พิมพ์ขี้ตา”

2. “แก้ม” ด้านขวามีตำหนิซึ่งเป็นตำหนิในพิมพ์ทุกองค์ (ที่ควรจดจำให้แม่น) “จมูก” บานใหญ่โด่งนูน “ปาก” คล้าย “พระจันทร์เสี้ยว” และริมฝีปากล่างหนากว่าริมฝีปากบน

3. “เส้นสังฆาฏิ” โค้งนูนหนาและมี “รู” อยู่ด้านบนและด้านล่างอย่างละรูซึ่งเป็น “ตำหนิในพิมพ์” จึงต้องจดจำให้แม่นเช่นกัน

4. “ริ้วจีวรด้านขวา” จะมีความโค้งขนานกับท้องแขนขวามากกว่า “พิมพ์สี่ชายเล็ก” และริ้วจีวรเส้นล่างสุดจะยาวกว่า “พิมพ์สี่ชายเล็ก” (ที่มาของการเรียกบล็อกจีวรยาว) ส่วน “ริ้วจีวรซ้าย” ลักษณะเป็นเส้นพลิ้วคว่ำลง

5. “ฝ่ามือ” ทั้งสองข้างที่ประสานกันในท่านั่งสมาธิคอดตรงกลางเล็กน้อย ส่วน “ตักขวา” ที่ทับขาซ้ายมีเส้นชายจีวรสองเส้นในแนวเฉียงเล็ก ๆ และ “ตักซ้าย” มีเส้นชายจีวรสามเส้นในแนวเฉียงเช่นกัน

6. “ฐาน” ของพิมพ์ขี้ตาทุกพิมพ์จะหนากว่า “พิมพ์นิยม” และข้อที่พึงจดจำคือ “ด้านข้างองค์พระ” จะมีตะเข็บทุกองค์ และ “ใต้ฐาน” ก็จะไม่ปรากฏรอยก้านชนวน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น