ชี้ตำหนิ หลวงพ่อเงิน15 พิมพ์ นับแบงค์

ชี้ตำหนิ หลวงพ่อเงิน15  พิมพ์ นับแบงค์
หลวงพ่อเงิน15จะมีฐานกว้างประมาณ 1.6-1.7 ซ.ม. ความสูงจากฐานถึงยอดพระเศียรประมาณ 2.4-2.5 ซ.ม. ส่วนทองเหลืองกลมที่อุดก้นฐาน จะเรียบเสมอกับฐาน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.4-4.5 ซ.ม.

พิมพ์ ของหลวงพ่อเงินปี15 มีกี่พิมพ์กี่แบบ

พิมพ์ ของหลวงพ่อเงินปี15 มีกี่พิมพ์กี่แบบ 4.พิมพ์

ทุกพิมพ์มาจากบล็อกเดียวกันหมดแทบทั้งสิ้น แตกต่างกันตรงที่อันไหนที่ปั๊มก่อนจะคมชัดสวยงามก็ตี เป็นพิมพ์นิยมไป ส่วนเมื่อปั๊มไปมากบล็อกเีริ่มสึก พิมพ์ก็จะผิดเพี้ยนไปแต่ไม่มาก ก็จะตีรองกันลงมา แต่สรุคือพุทธคุณสักศิทธิ์เหมือนกันทุกประการ แล้วแต่ความศรัทธาครับ 

ส่วนพิมพ์ที่ รับรองและแตกแขนงมีดังนี้ครับ 






1.หลวงพ่อเงิน 15 พิมพ์นิยม





2.หลวงพ่อเงิน 15 พิมพ์ มือจุด











3.หลวงพ่อเงิน 15 พิมพ์ มือเลขแปด



4.หลวงพ่อเงิน ปี 15 พิมพ์มือ นับแบงค์

















หมัดเด็ด วิธีดูว่าหลวงพ่อเงิน15 เป็นพิมพ์ไหน

หมัดเด็ด วิธีดูว่าหลวงพ่อเงิน15 เป็นพิมพ์ไหน

1.ให้ดูที่หัวแม่มือซ้าย ถ้ามีเส้นพิมพ์แตกต่อจากปลายนิ้วมือซ้ายเข้าไปในง้ามนิ้วมือขวา เป็นพระแบบที่ 3 ถ้าไม่มีลํกษณะอย่างข้างต้นให้เป็นแบบที่ 2
2.ให้ดูปลายนิ้วชี้ซ้าย ถ้ามีตุ่มเนื้อเกินมาติด ให้เป็นพระแบบที่ 2 ถ้าไม่มีเป็นพระแบบที่ 3
3.ให้ดูด้านล่างใบหูขวา ถ้ามีเส้นพิมพ์แตกเป็นรูปสายฟ้าที่ด้านล่างใบหูขาว ให้เป็นแบบที่ 3 ถ้าเป็นจุดเนื้อเกิน 3 จุด ให้เป็นแบบที่ 2
4.ให้ดูใบหูซ้าย ด้านขวามือเรา พระแบบที่สองมีเส้นลางๆ เล็กคมเป็นแนวดิ่ง ในหูซ้ายเส้นเดียว ส่วนพระแบบที่ 3 จะเป็นเส้นกากบากในช่องหูซ้าย
5.ให้ดูใต้คางบริเวณขากรรไกรด้านขวามือเรา  ถ้ามีเส้นเกิน 2 เส้น ลักษณะคล้ายฟันหนู เป็นพระแบบที่ 3 ถ้าไม่มีเป็นพระแบบที่ 2

หลวงพ่อเงิน15จะมีฐานกว้างประมาณ 1.6-1.7 ซ.ม. ความสูงจากฐานถึงยอดพระเศียรประมาณ 2.4-2.5 ซ.ม. ส่วนทองเหลืองกลมที่อุดก้นฐาน จะเรียบเสมอกับฐาน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.4-4.5 ซ.ม.


แบบที่ 2 คือ หลวงพ่อเงิน15 พิมพ์มือมีจุด                           แบบที่่ 3 คือ หลวงพ่อเงิน15มือพิมพ์เลขแปด              



                           เข้าใจตรงกันนะ!!

หลวงพ่อเงิน15 วัดมูลเหล็ก จังหวัดพิจิตร

ตำหนิ หลวงพ่อเงิน15 วัดมูลเหล็ก   จังหวัดพิจิตร


ฐานองค์พระกว้างประมาณ 1.8 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. และรูกริ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 มม. เท่าที่พบเห็นมีด้วยกัน 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อทองเหลือง และเนื้ออัลปาก้า


หลวงพ่อเงิน ปี 15 ออกวัดมูลเหล็ก มีด้วยกัน 3 พิมพ์ 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อทองเหลือง และเนื้ออัลปาก้า สำหรับ 3 พิมพ์นั้นได้แก่

 1. พิมพ์ฐานกว้าง หรือพิมพ์นิยม (ไม่ตอกโค้ดแต่นิยมกว่าทุกพิมพ์)

 2. พิมพ์มือนับแบ็งค์ (ไม่ตอกโค้ด)

 3. พิมพ์ฐานแคบหรือพิมพ์ฐานรักบี้ (มีการตอกโค้ด ๑๔/๑๕)

การตอกโค้ด
รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15 ออกวัดมูลเหล็ก มีเพียงพิมพ์เดียวคือพิมพ์ฐานรักบี้จะตอกโค้ดตัวเลข ๑๔/๑๕ ไว้ใต้ฐานองค์พระ เหมือนกับหลวงพ่อเงิน ปี 15 ที่ออกจากวัดบางคลานโดยตรง ซึ่งเป็นโค้ดอันเดียวกัน  ส่วนพิมพ์อื่นนั้นไม่ตอกโค้ด

โดยวัตถุประสงค์เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ร่วมสมทบทุนสร้างโบสถ์หลังใหม่ และเป็นที่ระลึกงานผูกพัทธสีมาของวัดบางคลาน หรือชื่อใหม่ก็คือ วัดหิรัญญาราม ซึ่งเป็นวัดเก่าที่หลวงพ่อเงินได้สร้างและจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้


โดยมี พล.ต.ต. สง่า กิตติขจร รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น เป็นประธานอุปถัมภ์ นายเผด็จ จิราภรณ์ ประธานสภาจ.พิจิตร เป็นประธานกรรมการอำนวยการ ส่วนประธานฝ่ายสงฆ์คือ สมเด็จพระวันรัต วัด พระเชตุพนฯ และ พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศน์ โดยมี อาจารย์เทพ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี

ปลุกเสกครั้งที่1 ปฐมฤกษ์ เป็นการปลุกเสกแผ่นโลหะซึ่งได้จากการหลอม โดยพระเกจิคณาจารย์ 74 รูปจากทั่วประเทศ ทำพิธีที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ

หลังจากปลุกเสกเสร็จสิ้น ได้มอบแผ่นโลหะเหล่านั้นให้โรงงานนำไปจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลชนิดต่างๆจนแล้วเสร็จ นำมาส่งมอบให้คณะกรรมการตรวจรับนับจำนวน

ปลุกเสกครั้งที่2 เมื่อได้รับมอบวัตถุมงคลชนิดต่างๆครบถ้วนแล้ว ได้จัดพิธีปลุกเสกขึ้นที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 โดยพระคณาจารย์ดังทั่วประเทศ 127 รูป

เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการปลุกเสกครั้งที่ 2 นี้แล้ว คณะกรรมการได้ขนวัตถุมงคลเดินทางไปยังวัดบางคลาน โดยทางรถไฟ

ปลุกเสกครั้งที่3 ซึ่งเป็นพิธีการปลุกเสกครั้งสุดท้าย ได้จัดพิธีขึ้น ณ วัดต้นกำเนิด คือวัดบางคลานในวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยได้นิมนต์พระคณาจารย์จากทั่วประเทศมาบริกรรมปลุกเสกตามพิธีกรรมแบบโบราณ ตลอดทั้งคืนเริ่มตั้งแต่ 4 โมงเย็นไปจนถึง 6 โมงเช้าโดยได้แบ่งพระคณาจารย์เข้าปลุกเสกเป็นชุดๆละ16 รูป จำนวน 6 ชุด รวม 96 รูป ปลุกเสกชุดละ 2 ชั่วโมงสลับกันไปอย่างไม่มีหยุดพักมีทั้งนั่งปรก บริกรรมภาวนาสวดคาถามหาทิพย์มนต์ พระคาถาพุทธาภิเษกและพระคาถาภาณวาร
บทความจาก
http://www.jramulet.com/article?id=31995&lang=th