อภินิหาร และความศักสิทธิ์ ของหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน


อภินิหาร และความศักสิทธิ์ ของหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน

 ต่ิอจาตอนที่แล้วถึงอภินิหารและบุญบารมีของหวงพ่อเงิน ท่านต้องศรัทธาและเชื่ออย่างสุดใจจึงจะเปล่งอนุภาพของพระเครื่องออกมาได้ อย่าได้คิดลองของเด็ดขาด ต้องมีศรัทธาครับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทำแต่กรรมดี" คุณถิ่นดาวเวียง " ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 6 ถนนราชอุทิศอำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับวัตถุมงคลของ " หลวงเงินพ่อ " ที่สร้างในรูป " รูปหล่อลอยองค์ " ซึ่งพระองค์นี้ " พิมพ์นิยมเศียรโต " โดยแบบเป็นเรื่องราวของ " คุณถิ่นดาวเวียง " เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 ขณะขี่รถจักรยานยนต์ยี่ห้อเวสป้ากลับจากไปเก็บเงินค่าไอศกรีมที่โรงงานของ เขาเป็นผู้ผลิตจำหน่ายที่อำเภอบ้านสวนขณะนั้นเป็นเวลาประมาณบ่าย 3 โมง ระหว่างขี่รถจักรยานยนต์ไปเก็บเงินเฉกเช่นที่ปฏิบัติตามปกติทุกวันบนถนนสาย หนึ่งที่เส้นทางค่อนข้างเปลี่ยวปรากฏมีชาย 2 คน ถือปืนลูกซองยาวขวางทางไว้พร้อมใช้ปืนโบกให้หยุดในลักษณะ " ประสงค์ร้าย " เพราะมันเตรียมการปล้นนั่นเองซึ่งพอเห็นเช่น " คุณถิ่นดาวเวียง " นั้น ก็ทราบทันทีว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับตัวเองจึงชะลอรถแล้วค่อย ๆ ขี่เข้าไปหา แต่พอเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ 6 เมตร ก็ตัดสินใจเร่งเครื่องรถจักรยานยนต์ " พุ่งเข้าชน " ชายที่ถือปืนทันทีแต่เจ้าหมอนั่นสามารถกระโดดหลบทัน " คุณถิ่นดาวเวียง " จึงซิ่งรถเวสป้าหนีเพราะขณะนั้นเขามีเงินที่เก็บได้มากพอสมควร โดยใส่ไว้ในถุงแป้งมัน แต่เมื่ออยู่ ๆ มีคนจะมาทำการปล้นเอาง่าย ๆ จึงไม่ยอมกันละเพราะเมื่อใจไม่กลัวเสียอย่างตายเป็นตายไม่ยอมให้จี้จึง ตัดสินใจพุ่งชนแล้วรีบหนีไป เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นเจ้าคนถือ " ปืนยาว " จึงเล็งปืนไล่หลังแล้วยิงทันทีแต่ปรากฏว่า " กระสุนด้าน " ส่วนอีกคนมีปืนหรือเปล่าไม่ทราบเพราะขณะซิ่งรถหนีเขาหมอบลงต่ำพร้อมกับเร่ง เครื่องรถเพื่อหนีเต็มที่เนื่องจากมีความเชื่อมั่นใน " หลวงพ่อเงิน " ที่เขาพกพาติดตัวเป็นประจำมากจึงตัดสินใจไม่ยอมให้โจรปล้นเอาง่าย ๆ และผลก็คือเขาสามารถรอดพ้นจากอันตรายได้เพราะแม้จะถูกยิงแต่กระสุนก็ด้านยิง ไม่ออกเลย


ประสบการณ์ครั้งที่ 2 ของ " คุณถิ่นดาวเวียง " มีเกิดขึ้นอีกเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยปีนั้นที่จังหวัดสุโขทัยมี " เผาเทียนเล่นไฟ " งาน เขาได้ขี่เวสป้าคู่ชีพพาภรรยาซ้อนท้ายไปชมงานในช่วงกลางคืน ระหว่างกำลังขี่เวสป้าไปตามถนนด้วยความเร็วพอประมาณ อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นเพราะเมื่อเขาหักหลบรถคันอื่น ประจวบกับถนนลื่นจึงทำให้รถเวสป้าพลิกคว่ำลงข้างถนน ขณะนั้นสิบล้อตามมาข้างหลังติด ๆ แต่หักหลบรถเวสป้าของเขาที่กำลังคว่ำได้ทันท่วงที โดยตัวเขาและภรรยาตกลงไปข้างถนนผลคือ " รถเวสป้าพัง " แต่น่าแปลกใจมากเมื่อตัวเขาและภรรยาไม่มีบาดแผลใด ๆ เลยทั้งสองคนเนื่องจากขณะนั้นเขาแขวน " รูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน " เพียงองค์เดียวเท่านั้น

เป็นชาวบ้านบางคลานอำเภอบางคลานจังหวัดพิจิตรเป็นบุตรคนที่ 4 ของนายอู๋ " หลวงพ่อเงินพุทธโชติ " - นางฟักเกิดเมื่อวันศุกร์เดือน 10 ปีฉลู พ.ศ. 2351 มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 6 คนด้วยกันขณะ " หลวงพ่อเงิน " อายุได้ 3 ขวบ " ตาช้าง " ซึ่งเป็นลุงของหลวงพ่อได้นำ " หลวงพ่อ " ไปอยู่ด้วยกันที่กรุงเทพฯต่อมาเป็นวันเดือนปีใดไม่ทราบ " หลวง พ่อเงิน " จึงทำการบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตองปุ ( ปัจจุบันคือวัดชนะสงคราม ) ขณะอายุได้ 12 ขวบ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นอุปัชฌาย์พออายุได้ 20 ปี บิดา-มารดาและบรรดาญาติมีความประสงค์จะให้อุปสมบทแต่ " หลวงพ่อเงิน " ไม่ยอมเพราะเกรงว่าอายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริง บรรดาญาติก็อนุโลมตามกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ 22 ปีตรงกับ พ.ศ. 2373 ได้กำหนดวันอุปสมบทไม่ทราบว่าอุปัชฌาย์ชื่ออะไรเช่นกันได้ฉายาว่า " พุทธโชติ " หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาเล่าเรียน ธรรมะจนแตกฉาน แล้วทำการฝึกฝนวิปัสสนาจนมีญาณสมาธิแก่กล้า จึงมุ่งศึกษาพุทธาคมจาก " หลวงพ่อโพธิ์วัดวังหมาเน่า " จนมีความชำนาญทางพุทธาคมมาก มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เล่าลือกันในบรรดาชาวบ้านมากมาย

ความศักดิ์สิทธิ์ " หลวงพ่อเงินพุทธโชติ " ของ เป็นที่เลื่องลือมากเป็นผลให้ผู้คนต่างต้องการ " เครื่องรางของขลัง " จากท่านเป็นจำนวนมากเพราะท่านเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไปทั้งใกล้ และไกล รวมทั้งชาวจีนก็นับถือเช่นกันและวันหนึ่งมีชาวจีนผู้หนึ่งได้ไปกราบหลวงพ่อ เพื่อขอน้ำมนต์ไปอาบที่บ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ทั้งจะทำให้การประกอบอาชีพร่ำรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไป จึงตักน้ำใส่ถังไปหาหลวงพ่อพร้อมบอกความประสงค์แก่หลวงพ่อแล้วหลวงพ่อก็จุด เทียนไว้แล้วนั่งคุยกับชาวจีนผู้นั้น นัยว่าชาวจีนผู้นี้คุยถูกคอท่านมากจึงคุยกันเป็นเวลานาน ชาวจีนผู้นั้นเห็นว่านานมากแล้วจึงเอ่ยว่า “เมื่อไหร่หลวงพ่อจะทำน้ำมนต์สักที” หลวงพ่อก็ตอบว่า " ทำเสร็จแล้ว " ชาวจีนผู้นั้นก็เถียงว่าไม่เห็นหลวงพ่อลงมือทำเลยเพราะเอาแต่คุยกันหลวงพ่อ ก็ยืนยันว่า " ทำเสร็จแล้ว " อยู่เช่นเดิมเป็นผลให้ชาวจีนผู้นั้นชักไม่พอใจรีบลุกขึ้น " เทน้ำออกจากถัง " ที่อุตส่าห์หิ้วมาเพื่อทำน้ำมนต์แต่หลวงพ่อไม่ทำให้สักที แต่ปรากฏว่าแม้จะเทน้ำในถังเช่นไรน้ำก็ไม่ออกจากถังเลย ชาวจีนเห็นเช่นนั้นรีบก้มลงกราบขอขมาหลวงพ่อ ที่เอาแต่ยิ้มอย่างให้อภัยซึ่งเรื่องนี้เป็นที่เลื่องลือมากในหมู่ศิษย์

มีศิษย์วัดของหลวงพ่อคนหนึ่งชื่อ " ตานาค " เป็นผู้ที่ชอบนอนตื่นสายเสมอและหน้าที่ของ " ตานาค " ก็คือหาบสำรับของหลวงพ่อเวลาออกบิณฑบาต วันหนึ่งตานาคตื่นสายผิดปกติ หลวงพ่อจึงใช้กระสุนหนังสติ๊กยิงไปยังทิศตรงกันข้ามกับตานาค แต่ปรากฏว่ากระสุนนั้นไปถูกตานาคที่นอนอยู่ในกุฏิจนต้องร้องออกมา นอกจากนี้อภินิหาร " ตะกรุด " ของ " หลวงพ่อเงิน " ก็มีผู้ประสบมาแล้วโดยครั้ง " หลวงพ่อเงิน " สัพยอกกับหลวงพ่อเจ้าอาวาสหนึ่ง " วัดท้ายน้ำ " ในสมัยนั้น " หลวงพ่อเขียว " คือ ว่าปีนี้หรือพรรษานี้ลองตะกรุดกันดูทีว่าใครจะดีกว่ากัน เมื่อถึงกำหนดเข้าพรรษา " หลวงพ่อเขียว " ได้ตั้งใจจะทำตะกรุดครบไตรมาสนี้ 3 เดือนพร้อมทำการปลุกเสกอย่างดีพอถึงฤดูออกพรรษา " หลวงพ่อเขียว " ใช้ลูกศิษย์ไปนำเอาปืนมาทดลองยิงเพื่อพิสูจน์ว่าระหว่าง " หลวงพ่อเขียว " กับ " หลวงพ่อเงิน " วิชาของใครจะขลังกว่าโดยทดลองตะกรุดของ " หลวงพ่อเขียว " ก่อนปรากฏว่ายิงไม่ออกถึง 3 ครั้งจากนั้นจึงทำการทดลอง " หลวงเงินพ่อ " บ้างโดยท่านเรียกเด็กวัดให้ไป " ฝาบาตรทองเหลือง " ของเอา มาม้วนเป็นตะกรุดแล้วนำไปวางไว้พร้อมกับใช้ปืนยิงปรากฏว่าเสียงปืนดังสนั่น แต่ " ลูกปืน " กลับไม่ออกจากกระบอกปืนเลย " หลวงพ่อเงิน " จึงเอ่ยสัพยอกกับหลวงพ่อเขียวว่า " สู้ของข้าไม่ได้ของแกไม่ดัง อาจจะเป็นดินชื้นหรือแก๊ปเปียกน้ำก็ได้” แล้วท่านก็หัวเราะชอบใจนี่ก็เป็นการแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของ " หลวงพ่อเงิน " โดยแท้

" หลวงพ่อเงิน " มรณภาพด้วยโรคชราขณะอายุประมาณ 111 ปีเมื่อวันศุกร์แรม 11 ค่ำเดือน 10 ปีมะแมเวลา 05.00 น ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462 ณ วัดวังตะโกตำบลบางคลานอำเภอบางคลานจังหวัดพิจิตร คงทิ้งไว้แต่เรื่องราวอันเป็นปาฏิหาริย์มากมายครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นที่กล่าวขวัญกันสืบต่อมานานหลายสิบปีจนถึงปัจจุบันนี้.

บทความดีจาก
http://group.wunjun.com/chokajub/topic/109763-2444


1 ความคิดเห็น:

  1. ผมก็มีประการหลวงพ่อเงินเยอะครับศรัทธามาก เคยขอเงินได้เงิน และเมตตาดีที่หหงนึ่งเลย ว่างๆๆจะมาเหล่าให้ฟัง

    ตอบลบ